ยิปซีเป็นชื่อที่ชาวอังกฤษเรียก คนจรจัด ชาวฝรั่งเศสเรียกโบฮีเมียน ชาวสวีดิชเรียกว่า พวกการ์ตาร์ ชาวสเปนเรียก เฟลมิช เพราะชอบร้องรำทำเพลงที่มีจังหวะเร่าร้อน มีลักษณะ คล้ายฟลาเมงโกของสเปน

วันเสาร์ที่ 20 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

ชนเผ่า ยิปซีผู้เร่ร่อน




รวมเรื่องราวอันน่าอัศจัรรย์ของชนเผ่า

"เรื่องแปลกแต่จริง"
ของวิถึชีวิตและประเพณีที่สวนทางกับความเจริญก้าวหน้าของโลกอย่างที่เรียกว่า "ไม่น่าเป็นไปได้" นี่อาจเป็นเรื่องราวที่คุณยังไม่เคยรู้มาก่อน

ยิปซี
ยิปซี คือ คนร่อนเร่พเนจรซึ่งอาศัยอยู่ในหลายประเทศในยุโรป โดยทั่วไปพวกยิปชีจะตั้งค่ายอยู่รวมกันในกองคาราวานครั้งหนึ่งเคยเชื่อกันว่ายิปชีมาจากประเทศอียิปต์ ผู้คนจึงพากันเรียกขานพวกเขาว่ายิปชีแต่พวกยิปซีเรียกตัวเองว่า โรม” (Rom) และเรียกภาษาที่ใช้ว่า โรมานี” (Romany)
ยิปซีมีถิ่นกำเนิดอยู่ทางตะวันตกเฉียงเหนือของอินเดียพวกเขามีฐานะยากจน และถูกผลักไสให้อพยพไปทางตะวันตกโดยพวกมองโกล ซึ่งขยายอาณาเขตรุกล้ำเข้ามาเรื่อย ๆ เมื่อประมาณ ๗๐๐ ปีก่อน ยิปชีพยายามก่อตั้งถิ่นฐานขึ้นใหม่ในส่วนต่าง ๆ ของทวีปยุโรป แต่ไม่สำเร็จ เพราะมักถูกข่มเหงและขับไล่ให้ไปอยู่ที่อื่นตลอดมา แม้จนถึงทุกวันนี้คนส่วนใหญ่ยังคงมองว่ายิปชีเป็นคนแปลกหน้า ส่วนยิปซีเองก็ชอบอยู่รวมกันเฉพาะในหมู่ตน และแยกตัวออกจากคนเชื้อสายอื่น


ชนชาติแห่งการร่อนเร่พเนจร หรือชาวยิปซี ผู้มีชื่อเสียงในด้านการเป็นผู้เดินทาง
ผู้ทำนาย และผู้ให้ความบันเทิง เรียกอีกชื่อว่าชาวโรม ชาวโรมา โรมเนีย หรือ โรมมาเนีย
จากการสืบค้นผ่านทางหลักฐานที่ดีที่สุด คือร่องรอยทางภาษา สรุปได้ว่า
ชาวโรม คือกลุ่มชนผู้อพยพมากจากประเทศอินเดีย



การแต่งกายของเผ่า

ชาย นุ่งกางเกงสีดำ ใส่เสื้อเชิ้ต สีมอ ๆ มีเสื้อกัก สีดำปักลวดลายด้วยไหมสีต่าง ๆ สด และสดุดตา


หญิง นุ่งกระโปรงจีบรูดเป็นลวดลายดอกไม้สีสดใสยาวถึงข้อเท้าใส่เสื้อสเวตเตอร์สีสดเข้า กัน ไว้ผมยาว มีผ้าโพกศีรษะลวดลายเป็นดอกดวง ไม่จำเป็นต้องให้สีเข้ากันกับกระโปรงหรือเสื้อ หนาว

ใส่ต่างหู ถ้าไม่ใส่คู่ก็ใส่ข้างเดียวมีดอกไม้ทัดหู ฤดูร้อนไม่ใส่รองเท้า เวลาเดินจะได้ยินเสียง กระพวนที่ข้อเท้า หรือเวลาร้องรำทำเพลง ทุกวันนี้ผู้หญิงนำเอา กระโปรงจีบรูดที่มีดอกดวงสีสันสดใสมาใส่กัน



เพลง ชาวยีปซี


 ม้าที่เผ่ายีปซีใช้เดินทาง



ที่มาของวัฒนธรรม
วัฒนธรรมมีในสังคมมนุษย์เท่านั้น สัตว์ไม่มีวัฒนธรรมเหมือนมนุษย์ หรือสร้างวัฒนธรรมขึ้นมาไม่ได้ แต่มีมนุษย์มีวัฒนธรรม หรือสร้างวัฒนธรรมได้นั้น สาเหตุมาจากเปรียบเทียบกับสัตว์ ในการมองสิ่งต่าง ๆ มีความสามารถใช้มือและนิ้วอย่างอิสระ มีอายุยืนยาว มีมันสมองที่สามารถคิดค้นเรียนรู้ได้ดี และสามารถ่ายทอดโดยใช้ภาษาพูดและภาษาเขียน มีความสามารถในการคิดพิจารณาไตร่ตรอง มีความจำ มีการทดลองค้นคว้า ประดิษฐ์สิ่งต่าง ๆ รวมทั้งความสามารถในการปรับตัวเข้ากับสังคมหรือการอยู่ร่วมกันได้ดี สิ่งเหล่านี้เองจึงทำให้มนุษย์แตกต่างจากสัตว์
ความหมายของวัฒนธรรม
คำว่า วัฒนธรรม มาจากภาษาอังกฤษ คำว่า Cultureคำนี้มีรากศัพท์มาจาก Culturaในภาษาละติน มีความหมายว่า การเพาะปลูกหรือการปลูกฝัง (อานนท์ อาภาภิรม, 2519: 99) ซึ่งอธิบายได้ว่ามนุษย์เป็นผู้ปลูกฝังอบรมบ่มนิสัยให้เกิดความเจริญงอกงาม ในด้านภาษาศาสตร์ วัฒนธรรมเป็นคำที่ได้มาจากการรวมคำ 2 คำเข้าด้วยกัน ได้แก่
- วัฒนะ หรือ วัฒน หมายถึง ความเจริญงอกงาม รุ่งเรือง

-
ธรรมะ หรือ ธรรม หมายถึง กฎ ระเบียบ หรือข้อปฏิบัติ

ลักษณะของวัฒนธรรม
1. วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่จำเป็นสำหรับการดำเนินชีวิตในสังคมมนุษย์ อีกนัยหนึ่งคือมนุษย์จะอยู่โดยปราศจากวัฒนธรรมไม่ได้หรือวัฒนธรรมกับมนุษย์จะต้องอยู่ควบคู่กันไป เสมือนเงากับตัวทิ้งกันไม่ได้

2.  วัฒนธรรมไม่ใช่สิ่งที่ติดตัวมนุษย์มาแต่กำเนิด และไม่ใช่สิ่งที่อาจถ่ายทอดทางพันธุกรรมได้ ดังนั้นนิสัยและความสามารถต่าง ของมนุษย์ส่วนใหญ่เป็นผลมาจากการเรียนรู้ หรือขบวนการ สังคมกรณ์ (Socialzation)
3.  วัฒนธรรมของแต่ละสังคม มีความแตกต่างกันและคามแตกต่างนี้ไม่อาจนำมาเปรียบเทียบพิจารณาว่าวัฒนธรรมใดดีกว่ากัน เพราะวัฒนธรรมแต่ละวัฒนธรรมย่อมมีความเหมาะสมถูกต้องตามสภาพแวดล้อมของแต่ละสังคม แนวความคิดที่ว่า วัฒนธรรมทุกวัฒนธรรมมีส่วนดีเป็นของตนเอง ซึ่งเรียกว่าวัฒนธรรมสัมพันธ์แนวความคิดนี้มุ่งที่จะลบล้างความคิดเห็นที่ว่า วัฒนธรรมของตนดีกว่าวัฒนธรรมของคนอื่น (Ethnocentrism)
4.  วัฒนธรรมเป็นสิ่งที่อาจเปลี่ยนแปลงได้ โดยทั่วไปการเปลี่ยนแปลงมักจะเป็นไปได้ 2 วิธีคือ
-
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายในวัฒนธรรมเอง เช่น การประดิษฐ์คิดค้น

-
การเปลี่ยนแปลงที่มาจากภายนอก เช่น การติดต่อกับวัฒนธรรมอื่น เป็นการเลียนแบบวัฒนธรรมอื่น มาใช้

5.  วัฒนธรรมเป็นผลรวมของแบบแผนและแนวการดำเนินชีวิตของปลาย อย่างในสังคมเข้าด้วยกัน ถ้าสมาชิกในสังคมส่วนใหญ่ยึดถือเป็นแบบอย่างเดียวกันเรียกวัฒนธรรมนั้นว่าวัฒนธรรมใหญ่หรือ วัฒนธรรมรวมและภายหลังวัฒนธรรมใหญ่ยังแบ่งเป็นวัฒนธรรมย่อยหรือ วัฒนธรรมรองด้วย




องค์ประกอบของวัฒนธรรม

องค์ประกอบของวัฒนธรรมโดยทั่วไป มี 4 ประการ คือ

1.    องค์มติ (Concept) หมายถึง ความเชื่อ ความคิด ความเข้าใจ และอุดมการณ์ต่าง ตลอดจนทัศนคติ การยอมรับว่าสิ่งใดถูกหรือผิด สมควรหรือไม่ ซึ่งแล้วแต่ว่ากลุ่มใดจะใช้อะไรเป็นมาตรฐาน (Normal) ในการาตัดสินใจหรือเป็นเครื่องวัด เช่น ความเชื่อในเรื่องการทำดีได้ดี ทำชั่วได้ชั่ว เป็นต้น
2.    องค์พิธีการ (Usage) หมายถึง ขนมธรรมเนียมประเพณี ซึ่งเป็นที่ยอมรับกันโดยทั่วไป และแสดงออกมาในรูปพิธีกรรมต่าง เช่น พิธีแต่งงาน พิธีขึ้นบ้านใหม่ พิธีศพ มักจะได้รับอิทธิพลจากศาสนาเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ตลอดจนพิธีการแต่งกาย และการับประทานอาหาร เช่น การแต่งกายเครื่องแบบของทางราชการ หรือการแต่งกายเครื่องแบบเต็มยศในงานรัฐพิธีต่าง เป็นต้น
3.    องค์การ (Association or Organization) หมายถึง กลุ่มที่มีการจัดระเบียบหรือมีโครงสร้างอย่างเป็นทางการมีกฎเกณฑ์ ข้อบังคับ วีวัตถุประสงค์ และวิธีดำเนินงานไว้เป็นที่แน่นอน เป็นกลุ่มที่มีความสำคัญที่สุดในสังคม ซับซ้อน (Complex Society) เช่น องค์การสหประชาชาติ ซึ่งเป็นองค์การที่ใหญ่ที่สุด สมาคมอาเซียน สหพันธ์กรรมกร หน่วยราชการ โรงเรียน วัด จนถึงครอบครัว ซึ่งเป็นองค์การที่มีขนาดเล็กที่สุดและใกล้ชิดกับมนุษย์มากที่สุด
4.    องค์วัตถุ (Instrumental and Symbolic Objects) เป็นวัฒนธรรมทางด้านวัตถุ มีรูปร่างที่สามารถสัมผัสจับต้องได้ เช่น บ้าน โรงเรียน ถนน เครื่องแต่งกาย เครื่องใช้ อาวุธ ตลอดจนผลผลิตทางด้านศิลปกรรมของมนุษย์
 ประเภทของวัฒนธรรม

1.วัฒนธรรมที่เป็นวัตถุ  (material culture)  หมายถึงสิ่งของเครื่องมือเครื่องใช้ เทคโนโลยีต่างๆ ที่มนุษย์ผลิตขึ้นหรือสร้างขึ้น เพื่อใช้ในขีวิตประจำวัน เช่น อาหาร บ้านเรือน โรงงาน และอื่นๆ

2. วัฒนธรรมที่ไม่ใช่วัตถุ (non- material culture) หมายถึง ขนบ ธรรมเนียม ประเพนี ความเชื่อ ปรัชญา การเมืองการปกครอง การสื่อสาร เป็นต้น




เดรสกระโปรงเกาะอก-เดินสม๊อกเกาะอกยาวลงมา 8 นิ้ว ยึดด้วยยางยืดกว้าง 1นิ้ว พร้อมสายมัดอกห้อยลูกปัดชายกระโปรงด้วยผ้าแบบเดียวกันเป็น 4 ชั้นมีเทปผ้าลายดอกไม้ติดประดับที่ชั้นล่างสุด มีซับในใช้เนื้อผ้า 5.50 เมตร อกขยายได้ถึง 45 นิ้ว ยาว 1.25 เมตร